แผนกลยุทธ์การบริหารงาน
แผนกลยุทธิ์การบริหาร แผนกลยุทธิ์การบริหาร

แผนกลยุทธการบริหารทรัพยากรบุคคล 3 ปี

พ.ศ. 25522554

 บทที่ 1

บทนำ

  1.   หลักการและเหตุผล

          บุคคลเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารงานของทุกองค์กร  ถ้าขาดการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ  จะส่งผลให้การทำงานไม่มีประสิทธิผล  ล่าช้า  และเกิดความเสียหายต่อองค์กร  ดังนั้นองค์กรจำเป็นต้องจัดทำแผนกลยุทธการบริหารทรัพยากรบุคคล   เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้  ทักษะ  ทัศนคติที่ดี  คุณธรรมและจริยธรรม  อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ   และให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน

          จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว  องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ  จึงได้จัดทำกลยุทธการบริหารทรัพยากรบุคคล 3 ปี  (พ.ศ.2552– พ.ศ.2554)  ขึ้นเพื่อเป็นการกำหนดให้พนักงานส่วนตำบลทุกคนต้องได้รับการพัฒนาทุกตำแหน่ง  โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาพนักงานส่วนตำบล 3 ปี 

(พ.ศ.2552–2554)

 

2.  วัตถุประสงค์

         

                   2.1  เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากร  และเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ  ทัศนคติที่ดี  และวิธีการปฏิบัติงานตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ

  1.   เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ในสถานการณการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

                    2.3  เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรม  จริยธรรม 

                    2.4  เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการจัดการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ

                    2.5  เพื่อดำรงรักษาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพให้อยู่คู่องค์กรต่อไป

 

 

 

  1.   เป้าหมาย

           

  1. ความคาดหวังในการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล

บ้านเกาะในระยะสั้น

ผู้บริหาร

                   3.1.1  พนักงานในองค์กรสามารถนำนโยบายของผู้บริหารไปปฏิบัติให้สำเร็จลุล่วง

                   3.1.2  การบริหารงานขององค์กรเป็นไปอย่างโปร่งใส  พนักงานมีคุณธรรม  และจริยธรรม

                   3.1.3  พนักงานมีความรู้  และมีทักษะในการปฏิบัติงานเพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

พนักงานส่วนตำบล

                   3.1.4  องค์กรให้การสนับสนุนพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งสายงานผู้บริหารทุกคน  ให้ได้รับการพัฒนาในแต่ละปี อย่างน้อย 1  หลักสูตร/โครงการ 

                    3.1.5  องค์กรให้การสนับสนุนพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งสายงานผู้ปฏิบัติทุกคน 

 ให้ได้รับการพัฒนาในแต่ละปีอย่างละ 1 หลักสูตร/โครงการ

                    3.1.6  องค์กรให้การสนับสนุนลูกจ้างประจำ/พนักงานจ้าง ให้ได้รับการพัฒนาในแต่ละปีอย่างน้อย 1 หลักสูตร/โครงการ

 

ประชาชน

  1.   พนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ  สามารถให้บริการประชาชน

อย่างรวดเร็ว

                   3.1.8  พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ  ต้อนรับประชาชนเป็นอย่างดี  สามารถทำงานประชาชนพึงพอใจในการให้บริการ

 

                        3.2  ความคาดหวังในการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล

บ้านเกาะในระยะยาว

ผู้บริหาร

                             3.2.1  องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ มีศักยภาพในการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่

                             3.2.2  องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ  สามารถปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศในด้านการบริหารจัดการ

 

 

พนักงานส่วนตำบล

  1.   องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ  เป็นองค์กรที่น่าอยู่
  2.   องค์กรให้การสนับสนุนในด้านการศึกษา  และความเจริญก้าวหน้าใน

หน้าที่ราชการ

 

ประชาชน

                             3.2.5  องค์กรมีการบริหารจัดการที่ดี  มีความโปร่งใสในการบริหารงาน

                             3.2.6  องค์กรสามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างดียิ่ง

                             3.2.7  องค์กรสามารถทำงานตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ 

                             3.2.8  พนักงานในองค์กรสามารถสร้างสัมพันธ์อันดีกับประชาชนและสามารถทำให้ประชาชนพึงพอใจในการให้บริการ

 

 

 

         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 2

การวิเคราะห์ศักยภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ

 

  1.   ปัจจัยภายใน

 

ด้าน

จุดแข็งในการพัฒนา

จุดอ่อนในการพัฒนา

1. ด้านการบริหาร

  1.  การประสานงาน: มีความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานเนื่องจากมีความสามัคคีกันภายในองค์กรและทราบวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน
  2.   การมอบอำนาจ: ตามศักยภาพภาย

ใต้อำนาจหน้าที่ในขอบเขตของกฎหมาย

  1.   การกำกับดูแล: เป็นไปอย่างสม่ำเสมอเพื่อความเรียบร้อย
  2.  การแบ่งส่วนราชการ : ยังไม่ครอบคลุมภารกิจทั้งหมด
  3.   การวางแผน  :  ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนาในระดับต่ำ

 

2. ด้านระเบียบ กฎหมาย ข้อบัญญัติ

ปลัดองค์การบริหารส่วน มีความรู้ความสามารถด้านงานกฎหมายพร้อมให้คำปรึกษา

 

  1.  การออกข้อบัญญัติ : ประชาชนยังเข้ามีมีส่วนร่วมน้อย
  2.   การบังคับใช้ : ประชาชนยังรับทราบน้อยมาก

3. ด้านบุคลากร

  1.  วินัย : มีวินัย  และปฏิบัติตามระเบียบ
  2.   พฤติกรรม : ประพฤติตัวเป็นตัวอย่างที่ดี  มีความน่าเชื่อถือ
  3.   ความเจริญก้าวหน้า :เปิดโอกาสและสนับสนุนให้พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้าง พนักงานจ้าง เข้าสอบแข่งขันในระดับที่สูงขึ้น

 

  1.   คุณภาพของงาน: ปานกลาง ควรให้ความรู้เพิ่มเติม
  2.   ทัศนคติ : ปานกลาง  ควรให้ความรู้เพิ่มเติม
  3.   อัตรากำลัง : ยังไม่เหมาะสมกับปริมาณของงาน

4. ด้านงบประมาณ

  1.   การจัดเก็บรายได้: มีความสามารถในการจัดเก็บรายได้ดีมากมีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี
  2.   เงินอุดหนุน : ได้รับเงินอุดหนุนสมควรกับศักยภาพ
  3.   การชำระภาษี: ประชาชนในพื้นที่ยังขาดความตื่นตัวในการร่วมรับผิดชอบเรื่องภาษีต่างๆ
 

 

ด้าน

จุดแข็งในการพัฒนา

จุดอ่อนในการพัฒนา

5. ด้านระบบฐานข้อมูล

  1.  การจัดเก็บข้อมูล: มีการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. และมีการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม
  2.   การปรับปรุงข้อมูล: มีการสำรวจข้อมูลปัจจุบันเสมอ
  3.   การมีส่วนร่วม  :  การให้ผู้นำชุมชน

อสม. เข้าร่วมสำรวจข้อมูล

 

  1.  คุณภาพของข้อมูล: ข้อมูลที่ได้รับเป็นข้อมูลที่ยังปิดบังซ่อนเร้นไม่ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่

 

6. ด้านทรัพยากร เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงาน

  1.   จำนวน : เหมาะสมกับปริมาณงาน
  2.   เทคโนโลยีทันสมัย: มีการนำมาใช้  แต่บุคลากรยังขาดความรู้ในการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
 

 

  1.   ปัจจัยภายนอก

 

ด้าน

จุดแข็งในการพัฒนา

จุดอ่อนในการพัฒนา

1. ด้านการเมือง

  1.  ระดับความขัดแย้ง: มีมาก เป็นโอกาสที่แต่ละฝ่ายต่างตรวจสอบการทำงานของกันและกัน  ส่งผลดีต่อประชาชนและท้องถิ่น
  2.   กลุ่มผลประโยชน์ : นักการเมืองเป็นนักธุรกิจที่มุ่งหากำไรจากการเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง
 

2. ด้านเศรษฐกิจ

  1.   เศรษฐกิจรวม : ประชาชนเริ่มตื่นตัวในการใช้จ่ายอย่างประหยัดและพอเพียง
  2.   สารธารณภัย : เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบในการทำการเกษตร
 

3. ด้านสังคม

  1.   วัฒนธรรม : มีการฟื้นฟู สนับสนุนวัฒนธรรม ประเพณี ในท้องถิ่น
  2.  การสื่อสาร : มีความสะดวกรวดเร็ว
  3.   สังคม : เป็นสังคมเมืองที่มีความเอื้ออาทรลดน้อยลง  และเห็นแก่ตัวมากขึ้นทำให้ขาดการรวมพลัง
 

4. ด้านนโยบายรัฐบาล

  1.   การกำหนดนโยบาย : มีการริเริ่มนโยบายใหม่ ๆ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
  2.   การปฏิบัติตามนโยบาย: เป็นนโยบายใหม่ซึ่งบุคลากรยังขาดแนวทางในการดำเนินงาน
 

5. ด้านเทคโนโลยี

  1.  การคิดค้น : เทคโนโลยีราคาถูกลงเนื่องจากสามารถคิดค้นและผลิตได้เองในประเทศ

 

บทที่ 3

การกำหนดวิสัยทัศน์การบริหารงานบุคคล

 

วิสัยทัศน์ (Vision)  การบริหารงานบุคคล

            ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา บุคลากรในองค์กรให้มีองค์ความรู้ที่หลากหลาย  เคียงคู่คุณธรรม  เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและประชาชนในพื้นที่

 

พันธกิจ (Mission)การบริหารงานบุคคล

  1.   ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีศักยภาพ  เพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
  2.   ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ปฏิบัติงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  3.   ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านคุณธรรมและจริยธรรม
  4.   ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลในการบริการประชาชนให้เกิดความพึงพอใจและเกิดประโยชน์

    สูงสุดต่อองค์กรและประชาชนในพื้นที่

 

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา (Goals)

  1.   เพื่อให้ทรัพยากรบุคคลในองค์กรให้มีองค์ความรู้เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
  2.   เพื่อให้สามรถปฏิบัติงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพ
  3.   เพื่อให้ทรัพยากรบุคคลในองค์กรมีความรู้และจิตสำนึกด้านคุณธรรมและจริยธรรม
  4.   เพื่อการบริการประชาชนให้เกิดความพึงพอใจและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและ

    ประชาชนในพื้นที่



แฟ้มที่เกี่ยวข้อง (คลิกเพื่อเปิดแฟ้ม)